ประวัติ ความเป็นมา
พ.ศ. 2520
ครม.มีมติเห็นชอบจัดตั้งเป็นกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวแต่ติดขัดเรื่องงบประมาณจึงให้กรมตำรวจ และการท่องเที่ยวจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวรับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมได้แก่ เชียงใหม่ หาดใหญ่ พัทยา ภูเก็ต
พ.ศ. 2525
ตั้งเป็น กก.8 สังกัด บก.ป.
พ.ศ. 2552
จากการท่องเที่ยวที่เติมโตและภารกิจของกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น ได้ มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ ซึ่งมีผลให้โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น ๑ ฝ่ายอำนวยการ และ ๖ กองกำกับการ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ. 2519
นโยบายรัฐบาลไทยส่งเสริมการท่องเที่ยวแต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว มติที่ประชุม
กรมตำรวจ เมื่อ 20 มกราคม 2519 ให้กองปราบปราม จัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการความสะดวก และให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว” โดยมี พ.ต.อ.สงวน คล่องใจ เป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่
พ.ศ. 2523
บก.ป.จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจท่องเที่ยว (ฉก.ทท.) ให้ทุกหน่วยงาน ใน ตร. จัดทำแผนคุ้มครองนักท่องเที่ยว
พ.ศ. 2534
ได้ยกฐานะเป็นกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
พ.ศ. 2560
ยกฐานะ กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว เป็น “กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว”
เครื่องแบบ เครื่องแต่งกาย
เครื่องแบบที่ 1
เรียกว่า เซกเวย์
เครื่องแบบที่ 2
เครื่องแบบ สว.อยุธยา
เครื่องแบบที่ 3
จักรยานสายตรวจ
เครื่องแบบที่ 2
เครื่องแบบ สว.อยุธยา
เครื่องแบบที่ 3
จักรยานสายตรวจ
อำนาจหน้าที่
1. กำหนดยุทธศาสตร์ วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำแนะนำ และเสนอแนะการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยวและหน่วยงานในสังกัด
2. ถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
3. ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาทั่วราชอาณาจักร ทั้งในกรณีที่ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็นคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวหรือเพื่อการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ในกรณีที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว และในกรณีความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
4. ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและการปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร การให้ความปลอดภัยแก่บุคคลสำคัญและประชาชน และการให้บริการช่วยเหลือประชาชน
5. ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก และให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
6. ปฏิบัติการร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย